วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นํ้าแข็งแห้ง มีกระบวนการทำอย่างไร ?

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรามักจะพบการใช้ นํ้าแข็งแห้ง บนเวทีคอนเสิร์ตต่างๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับควันลอยขึ้นมา ช่วยเพิ่มบรรยากาศความมันส์ให้กับโชว์การแสดงนั้นๆ ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกตื่นตาตื่นใจ และอินไปกับบทเพลง เหล่านี้เป็นต้น

กลุ่มควันที่เราเห็นนั้นก็คือ นํ้าแข็งแห้งที่ระเหิดกลายเป็นไอนั่นเอง ทำไมจึงเกิดการระเหิด ?
ก็เพราะว่านํ้าแข็งแห้ง คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่อยู่ในสถานะของแข็งที่อุณหภูมิประมาณ -79 C  ดังนั้น เมื่ออยู่ที่อุณหภูมิห้อง (ประมาณ 25 C) ซึ่งมีอุณหภูมิและความดันปกติ จะเกิดการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นไอได้โดยตรง ซึ่งต่างจากนํ้าแข็งธรรมดาที่จะเกิดการหลอมเหลวกลายเป็นนํ้า

กระบวนการในการทำนํ้าแข็งแห้ง

เริ่มจาก ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลายเป็นของเหลวโดยการเพิ่มความดันและลดอุณหภูมิ หลังจากนั้นเมื่อเป็นของเหลวแล้วจึงนำไปทำให้บริสุทธิ์ และปราศจากความชื้นด้วยวิธีการที่เหมาะสม ก็จะได้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวที่แห้งและบริสุทธิ์ แล้วนำมาเพิ่มความดันและลดอุณหภูมิจนมีความดันประมาณ 18 บรรยากาศ (atm) และอุณหภูมิประมาณ -25 C  แล้วจึงอัดผ่านรูพรุน ก็จะได้คาร์บอนไดออกไซด์ที่มีลักษณะคล้ายเกล็ดนํ้าแข็ง หลังจากนั้นจึงนำเกล็ดมาอัดเป็นก้อน ก็จะได้นํ้าแข็งแห้งอย่างที่เราเห็นกัน



นอกจากใช้บนเวทีคอนเสิร์ต ใช้ในการจัดฉากเวทีละครแล้ว เนื่องจากนํ้าแข็งแห้งมีอุณหภูมิตํ่ามาก จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์ในการ ใช้แช่ไอศกรีม และ ใช้ในการถนอมอาหารโดยการแช่แข็ง อีกด้วย



0 ความคิดเห็น

นํ้าหอม ทำจากอะไร ?


เมื่อก่อนเคยคิดว่า... นํ้าหอมเป็นนํ้าที่เค้าเติมสารที่ทำให้มีกลิ่นหอมลงไป จึงทำให้มันหอม เชื่อว่าหลายๆคนชื่นชอบการใช้นํ้าหอมเพื่อระงับกลิ่นกาย หรืออาจจะช่วยเพิ่มความมั่นใจมากขึ้นเวลาที่อยู่ใกล้กับผู้คน  เพราะใครๆต่างก็ชื่นชอบของหอมๆทั้งนั้น  ในปัจจุบัน นํ้าหอมจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับใครหลายๆคนไปแล้ว เรียกว่าแทบจะขาดไม่ได้เลยก็ว่าได้

นํ้าหอม มีมากมายหลายกลิ่นหลายยี่ห้อด้วยกันนับไม่ถ้วน ซึ่งการที่มีกลิ่นหอมนั้นเกิดจาก นํ้าหอมทำมาจาก เอสเทอร์ (Ester)  ซึ่งเอสเทอร์เป็นสารอินทรีย์ที่พบมากในธรรมชาติ ในพืช สัตว์ เช่น ดอกไม้ ผลไม้ นํ้ามันพืช สารที่ทำให้เกิดกลิ่นในแมงดานา เป็นต้น  จึงทำให้ดอกไม้มีกลิ่นหอม หรือมีกลิ่นเฉพาะตัวแตกต่างกันไป  นอกจากจะพบในธรรมชาติแล้ว เอสเทอร์ยังสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาระหว่าง กรดอินทรีย์ กับ แอลกอฮอล์ อีกด้วย ดังสมการข้างล่าง

                                                H2SO4, ความร้อน
                                       RCOOH   +   R’OH      ⇌        RCOOR’   +   H2O
                    กรดอินทรีย์  แอลกอฮอล์        เอสเทอร์     น้ำ

ซึ่งปฏิกิริยาข้างต้น เป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ โดยปฏิกิริยาไปข้างหน้า เรียกว่า เอสเทอริฟิเคชัน (Esterification) และปฏิกิริยาย้อนกลับ เรียกว่า ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส (Hydrolysis)

เอสเทอร์ส่วนใหญ่เป็นของเหลวที่ ระเหยง่าย และมีกลิ่นหอม จึงนิยมใช้ทำนํ้าหอมนั่นเอง

กลิ่นของเอสเทอร์บางชนิด เช่น
       Ethyl acetate          กลิ่นดอกนมแมว
       n-Butyl acetate       กลิ่นกล้วยหอม
       Methyl butyrate      กลิ่นแอปเปิ้ล
       n-Octyl acetate       กลิ่นส้ม
       Ethyl butyrate        กลิ่นสับปะรด
       Methyl salicylate     กลิ่นนํ้ามันระกำ

ประโยชน์ของเอสเทอร์

     -  นิยมใช้ทำนํ้าหอม
     -  ใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในอาหาร
     -  ใช้เป็นตัวทำละลาย เช่น ในอุตสาหกรรมทำแลกเกอร์ นํ้ามันขัดเงา
     -  ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยสังเคราะห์

   เอสเทอร์บางชนิดผลิตขึ้นเพื่อ
     -  ใช้เป็นนํ้ายาล้างเล็บ (เอทิลแอซีเตต; Ethyl acetate)
     -  ใช้เป็นยาระงับปวด เช่น แอสไพริน (แอซีติล ซาลิซิลิกแอซิด; Acetyl salicylic acid)
     -  ใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่น นํ้ามันระกำ (เมทิลซาลิซิเลต;
         Methyl salicylate)
         เป็นต้น


0 ความคิดเห็น

Top 5 บทความที่มีคนเปิดดูมากที่สุด