วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

  Product Sensory (ความรู้สึกสัมผัสต่อผลิตภัณฑ์)

  Product Stability (ความคงสภาพของผลิตภัณฑ์)

    การทดสอบการคงสภาพของผลิตภัณฑ์ (Product Stability Test)
    ⦁  การทดสอบแบบเร่ง (Accelerated Test)
         1.  การเร่งโดยอุณหภูมิ  การแยกชั้น  การตกตะกอน  เปลี่ยนสี กลิ่น pH  
               Viscosity  เป็นต้น
         2.  การเร่งโดยแสง  การเปลี่ยนสี กลิ่น
               ทดสอบโดยแสงแดด  และ UV lamp
         3.  การเร่งโดยแรงโน้มถ่วงของโลก  โดยการ Centrifuge
    ⦁  ลักษณะที่ปรากฏ (Appearance), สี (Color), กลิ่น (Odor)
    ⦁  ค่า pH
    ⦁  ความหนืด (Viscosity)
    ⦁  องค์ประกอบที่เป็นน้ำ (Water Content)
    ⦁  การทดสอบทางจุลชีววิทยา (Microbiological Test)
         ดูเชื้อ  นับจำนวนเชื้อ ด้วยวิธี Total Plate Count

⍟  Product Safety (ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์)
       ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ วัตถุดิบ (Raw Materials) และ ผลิตภัณฑ์ (Product)
           ⦁  การทดสอบการระคายเคืองเบื้องต้น (Primary Irritation Test)
           ⦁  การทดสอบการแพ้ (Skin Sensitization)
           ⦁  การทดสอบการแพ้ในคน (Human Patch Test)


⍟  Product Efficacy (ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์)
          ⦁  In vitro studies (การศึกษาในหลอดทดลอง)
          ⦁  In vivo studies (การศึกษาในสิ่งมีชีวิต)
                  Animal Studies (ในสัตว์)
                  Human Studies (ในคน)

      การวัด Product Efficacy  เช่น
          ⦁  SPF (Sun Protection Factor)
          ⦁  การวัดการสูญเสียน้ำทางผิว  TEWL (trans-epidermal water loss)
               ด้วยเครื่อง Tewameter® TM 210


วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

"เมคอัพ" หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องสำอางตกแต่ง

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ  Make-up Cosmetics กัน...

เมคอัพ หมายถึง เครื่องสำอางประเภทเสริมเติมแต่งให้สีสันบนใบหน้า  ช่วยแก้ไขและปกปิดส่วนบกพร่องบนใบหน้า  ช่วยเน้นส่วนต่างๆ ให้สวยเด่นขึ้น  ทำให้ใบหน้ามีสีสันและดูมีชีวิตชีวา


มีอะไรบ้าง ?  ได้แก่
    ⦁  แป้งทาหน้า (Facial powder)
    ⦁  รองพื้น (Foundation)
    ⦁  Blushers
    ⦁  มาสคาร่า (Mascara)
    ⦁  อายไลเนอร์ (Eye liner)
    ⦁  อายแชโดว์ (Eye shadow)
    ⦁  ดินสอเขียนคิ้ว (Eyebrow)
    ⦁  ลิปสติก (Lipstick)



Color Cosmetics (เครื่องสำอางสีสัน)

ประเภทของเครื่องสำอางแต่งสีสำหรับผิวหนัง  มีดังนี้
    1.  เครื่องสำอางประเภท แป้งผัดหน้า
    2.  เครื่องสำอางสำหรับ ตา
    3.  เครื่องสำอางใช้ แต่งแก้ม หรือ รู้ช (Rouges)
    4.  เครื่องสำอางใช้ แต่งปาก หรือ ลิปสติก (Lipsticks)



วิธีในการผลิตอิมัลชัน


การผลิตอิมัลชัน  มีอยู่ 2 วิธี

1.  วิธีไม่ใช้ความร้อน (Cold Process)
     ผลิตที่อุณหภูมิห้อง  ใช้พลังงานกล เช่น การกวนผสม
          ข้อดี  ประหยัดพลังงาน
          ข้อเสีย  ได้ Emulsion อนุภาคใหญ่  ไม่นิยมเพราะในสูตรจะมีพวก Waxes 
                          ต้องใช้ความร้อนในการหลอมละลาย

2.  วิธีใช้ความร้อน (Hot Process)
     อาศัยทั้งพลังงานความร้อน และพลังงานกล  
     (ให้ความร้อน Water Phase & Oil Phase ที่อุณหภูมิ 70 – 90 oC)
          ข้อดี  นิยมใช้ เพราะสูตรมีไขมัน หรือ Waxes  ความร้อนจะช่วยหลอมสาร
          ข้อเสีย  เสียพลังงานความร้อนในการหลอม Water Phase & Oil Phase  
                          และเสียเวลาในการทำให้ Emulsion เย็นตัว

**เทคนิคและสิ่งที่ควรระวังในการผสม
1.  วัตถุดิบ (Raw Materials)  :  ต้องมาจากแหล่งเดิม และมาจากบริษัทผู้ผลิตเดิม
2.  เครื่องมือ (Equipment)  :  พยายามใช้เครื่องเดิม
     เช่น   ถังผสม (Mixing Tank)
              เครื่องผสม (Agitator)
              เครื่องโฮโมจิไนเซอร์ (Homogenizer)
3.  เวลาในการกวนผสม (Mixing Time)  :  ต้องระยะสั้นที่สุด
4.  อัตราในการเย็น (Cooling Rate)
5.  ลำดับการเติม / ผสม (Ordering)  :  จะมีผลมาก
6.  อุณหภูมิที่ใช้ผสม (Temperature)


เปรียบเทียบความต่างระหว่าง ผลิตภัณฑ์อิมัลชัน และไม่ใช่อิมัลชัน

ผลิตภัณฑ์อิมัลชัน (Emulsion Product)




ผลิตภัณฑ์ไม่ใช่อิมัลชัน (Non-Emulsion Product)



จากส่วนประกอบที่อยู่ข้างใน จะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อิมัลชัน (Non-Emulsion Product) จะไม่มีในส่วนของ Oil Phase  แต่จะมี Water Phase เช่นเดียวกันกับผลิตภัณฑ์อิมัลชัน  มีการเติมสารเติมแต่ง (Additives) แต่จะไม่มีการเติม Emulsifier ลงไป  รวมทั้งยังมีการเติมองค์ประกอบอื่นๆอีกด้วย  นอกจากนี้ยังใช้กระบวนการในการผลิตที่แตกต่างกัน คือใช้ Solubilization Process  ไม่ใช่  Emulsification Process  จึงทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันนั่นเอง


วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อิมัลชัน (Emulsion Product)

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

1.  สารอิมอลเลียนต์ (Emollients)  ได้แก่          
     ⦁  น้ำมัน ไขมัน และไขแข็ง (ส่วน Oil Phase)

2.  สารฮิวแมกแตนท์ (Humectants)          
     ⦁  เป็นสารที่เพิ่มความชุ่มชื้น  จะมีสมบัติเก็บน้ำ ดูดน้ำเข้า กันน้ำออก
       เช่น  Propylene glycol, Glycerin, Sorbitol

3.  สารสำคัญ (Active Ingredients)  มีหน้าที่ คุณสมบัติเฉพาะ เช่น          
     ⦁  สารป้องกันแสงแดด  ได้แก่  Octyl Cinnamate, Oxybenzone, OMC, TiO2
       สารระงับการหลั่งเหงื่อ  ได้แก่  Aluminium Chlorhydrate
       สารชำระล้าง  ได้แก่  Sodium Lauryl Sulfate (SLS), SLES, 
         Ammonium Lauryl Sulfate
       สารอาหารและวิตามินต่างๆ  ได้แก่  Collagen, Vitamin A , Vitamin E

4.  ตัวทำอิมัลชัน (Emulsifying Agents / Emulsifier) 
     
  ทำหน้าที่ ผสมผสาน Water & Oil Phase ให้เข้ากัน
       ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ สารลดแรงตึงผิว (Surfactant)

5.  สารเพิ่มความหนืด (Thickening Agents)  ได้แก่  Veegum, Carbopol

6.  สารกันเสีย (Preservative)          
     ⦁  ป้องกันการปนเปื้อน และถูกทำลายโดยเชื้อจุลินทรีย์
       ได้แก่  Methylparaben, Propylparaben

7.  สารต้านออกซิเดชัน (Anti-Oxidation Agent)  ได้แก่  
     Butylated Hydroxytoluene (BHT)

8.  สารแต่งสี (Colorant)  อาจเป็นสีที่ละลายน้ำ หรือสีที่ละลายน้ำมัน  เช่น สีลิปสติก

9.  สารแต่งกลิ่น  ได้แก่  น้ำหอม


ครีมแต่ละชนิด แตกต่างกันอย่างไร ?

Facial cream  ครีมสำหรับทาหน้า

  ครีมเช็ดทำความสะอาดหน้า ครีมทากลางคืน
ครีมชนิดนี้จะค่อนข้างเหนียวเหนอะหนะ และล้างน้ำออกยาก  เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ อิมัลชันชนิดน้ำในน้ำมัน
(W/O Emulsion)  โดยมีวัฏภาคภายในเป็นน้ำ และวัฏภาคภายนอกเป็นน้ำมัน จึงทำให้ล้างออกยากนั่นเอง

  ครีมและโลชั่นทาผิว ครีมทาหน้า ครีมกันแดด ครีมรองพื้น
ครีมชนิดนี้เป็น อิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ
(O/W Emulsion)  โดยมีวัฏภาคภายในเป็นน้ำมัน และวัฏภาคภายนอกเป็นน้ำ  จึงมีความเหนอะหนะน้อย ทาแล้วกระจายตัวดี ล้างน้ำออกง่าย  ทำให้ เป็นที่นิยมมากในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

  Cold cream  หรือ ครีมเย็น
เป็น อิมัลชันเชิงซ้อน
(Multiple emulsion) ชนิด O/W/O  นอกจากนี้ยังมีชนิด W/O/W ด้วย ซึ่งสามารถกลับกลายเป็นอิมัลชันชนิดธรรมดาได้ เช่น  W/O/W  ซึ่งมีน้ำเป็นวัฏภาคภายนอก และวัฏภาคภายในเป็นน้ำมัน  จะมีหยดเล็กๆของหยดน้ำซ้อนอยู่อีกที  เมื่อกลับเป็นอิมัลชันธรรมดาจะกลายเป็นชนิด O/W



วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เครื่องสำอางในรูปครีม หรือโลชั่น

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เครื่องสำอางในรูปครีม หรือโลชั่น จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยม ซึ่งจะอยู่ในรูปของ อิมัลชัน โดย

ชนิดของอิมัลชัน  แบ่งตามขนาดของอนุภาค (Droplet size) ได้ดังนี้

1.  แมคโครอิมัลชัน (Macroemulsion)
     คือ อิมัลชันลักษณะขุ่นขาวที่พบโดยทั่วไปนั่นเอง อนุภาคของวัฏภาคภายในของอิมัลชันชนิดนี้มักมีขนาดตั้งแต่ 0.25 – 10 ไมครอน (โดยทั่วไป > 1 ไมครอนทำให้เกิดความแตกต่างในค่าดัชนีการหักเหของแสงของวัฏภาคทั้งสอง และเกิดการกระจายแสงทำให้ดูขุ่นขาว

2.  ไมโครอิมัลชัน (Microemulsion)
     มีลักษณะโปร่งใส เนื่องจากอนุภาคของวัฏภาคภายในเล็กมาก (ประมาณ 10 – 75 นาโนเมตร) ซึ่งมีค่าน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของความยาวคลื่นแสงที่มองเห็นได้ (Visible light) จึงไม่หักเห หรือกระจายแสง  แสงจึงสามารถทะลุผ่านได้ ทำให้ดูโปร่งใส หยดของวัฏภาคภายในมีลักษณะกลม ถูกล้อมรอบด้วยฟิล์มของตัวทำอิมัลชัน


3.  นาโนอิมัลชัน (Nanoemulsion)
     เป็นระบบในรูปแบบของเหลวใสที่มีความคงตัวทางเทอร์โมไดนามิกส์สูง  มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น oil-in-water emulsions หรือ submicron emulsion หรือ miniemulsion  มีลักษณะของอนุภาคที่เรียกว่า ไมเซลล์ (micelle) ที่มีขนาดประมาณ 10 – 140 นาโนเมตร โดยมีส่วนประกอบหลัก คือ น้ำมัน น้ำ และสารลดแรงตึงผิว โดยสามารถคงรูปอยู่ได้จากผิวฟิล์มของสารลดแรงตึงผิว  สามารถเตรียมได้จากสารลดแรงตึงผิวหลายชนิด แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นพิษของสารเช่นกัน  แต่โดยทั่วไปแล้วจำเป็นต้องใช้สารลดแรงตึงผิวในปริมาณที่สูงเพื่อเพิ่มความคงตัวของของเหลว


0 ความคิดเห็น

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ส่วนผสมที่อยู่ในเครื่องสำอาง (part 3)

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

10. แป้ง และ สี (Powder & Dye)
      ⦁  Talcum, Titanium Dioxide (TiO2), Iron Oxides

11. วิตามิน (Vitamins)
      ⦁  นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ได้แก่ วิตามิน A (Retinyl Palmitate), 
                                                        วิตามิน E (Tocopheryl Acetate)

12. สารป้องกันแสงแดด (UV Absorber & Blocker)
      ⦁  เช่น Benzophenone-3 (Oxybenzone 10%), Titanium Dioxide (ใช้สูงสุด 25%), 
          Octylmethoxy cinamate หรือ OMC (สูงสุด 10%)
          *ถ้าใส่ปริมาณเกินที่กำหนด จะไปยื่นขอจดแจ้งที่ อย. ไม่ได้


    *ข้อสังเกต :  Titanium Dioxide (TiO2คุณสมบัติ  
                         ถ้าใส่น้อย จะให้สี  แต่ถ้าใส่เยอะหน่อย จะช่วยป้องกันแสงแดด

13. สารกันเสีย (Preservative)
      ⦁  ได้แก่  Methylparaben, Propylparaben, Phenoxy ethanol

14. สารต้านออกซิเดชัน (Antioxidant Agent)
      ⦁  เป็นสารป้องกันการหืน
      ⦁  ได้แก่  BHT (Butylated hydroxytoluene), BHA (Butylated hydroxyanisole)

15. สารคีเลทติ้ง (Chelating Agent)
      ⦁  ได้แก่  EDTA

16. สารสกัดจากธรรมชาติ (Natural Extract)
      ⦁  ได้แก่  Cucumber Extract, Mulberry Extract, Witch Hazel Extract

 

17. น้ำหอม (Perfume)
      ⦁  ใช้แต่งกลิ่น
      ⦁  ตัวอย่างเช่น
           น้ำหอมระเหย สกัดได้จากดอกไม้ เช่น ดอกลาเวนเดอร์ ดอกกุหลาบ
           สารหอมสังเคราะห์ เป็นสาร Organic ประเภท Aromatic compounds
           -  น้ำหอมผสม ได้จากการนำสารหอมสังเคราะห์หลายชนิดมาผสมผสานกัน ได้กลิ่น
               ดอกไม้ธรรมชาติ ราคาถูก และคงตัวกว่า เช่น กลิ่นกุหลาบ เป็นต้น

 


0 ความคิดเห็น

ส่วนผสมที่อยู่ในเครื่องสำอาง (part 2)


7. ซิลิโคน ออยล์ (Silicone Oils)
    ⦁  เป็นน้ำมันที่มีความหนืด ตั้งแต่เหลวจนกึ่งแข็ง ขึ้นกับค่า n (Siloxan Unit)
    ⦁  อาจอยู่ในรูป Cyclic molecules เช่น Cyclomethicone
    ⦁  คุณสมบัติ  มีความคงตัวทางเคมีสูง

8. โพลิออล (Polyol)
    ⦁  เป็นพอลิเมอร์ที่มีจำนวนหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป ในสายโซ่โมเลกุล
    ⦁  แหล่ง
         -  Vegetable & Animal :  Glycerin ได้จากกระบวนการ Saponification ของไขมัน 
             และ Oil
         -  Synthetic :  Ethylene Glycol, PEG, PG, Glycerin
    ⦁  ประโยชน์
         -  ให้ความชุ่มชื้น
         ใช้เป็น Stabilizer ที่อุณหภูมิต่ำ

9. สารลดแรงตึงผิว (Surfactant)
    ⦁  คือ “Amphyphylic”  เป็นสารที่มีลักษณะโมเลกุลประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 
         -  ส่วนหัวที่ชอบน้ำ สามารถรวมกับน้ำได้ดี (Hydrophilic) กับ 
         -  ส่วนหางที่ไม่ชอบน้ำ แต่สามารถละลายกับน้ำมันได้ดี (Hydrophobic)

Surfactant : Soap Film
    ⦁  ประโยชน์
         ทำหน้าที่เป็น Emulsifier, Solubilizer, Wetting Agent, Detergent
    ⦁  สารลดแรงตึงผิว สามารถแบ่งออกได้ 4 ชนิด ได้แก่
         1.  Nonionic Surfactant :  ละลายน้ำแล้วจะไม่แตกตัว จึงไม่มีประจุ
         2.  Anionic Surfactant :  ละลายน้ำแล้วจะแตกตัว และส่วนหัวจะมีประจุเป็นลบ
         3.  Cationic Surfactant :  ละลายน้ำแล้วจะแตกตัว ส่วนหัวมีประจุเป็นบวก
         4.  Amphoteric Surfactant :  มีทั้งประจุบวกและลบ ละลายน้ำจะแสดงประจุบวก ถ้า
               สภาพแวดล้อมเป็นกรด และจะแสดงประจุลบถ้าเป็นด่าง


0 ความคิดเห็น

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ส่วนผสมที่อยู่ในเครื่องสำอาง (part 1)

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ส่วนผสมที่อยู่ในเครื่องสำอาง มีมากมายหลายอย่างซึ่ง
แหล่งของวัตถุดิบ (Ingredient Sources)  อาจจะได้มาจาก
    ⦁  สัตว์ (Animal)
    ⦁  พืช (Plant)
    ⦁  แร่ธาตุ (Mineral)
    ⦁  การสังเคราะห์ขึ้น (Synthetic)
    ⦁  เชื้อจุลชีพ เช่น แบคทีเรีย (Bacteria), เชื้อรา (Fungi) หรือ 
        สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอื่นๆ (other single celled organism)


โดย ส่วนผสมในเครื่องสำอาง สามารถแบ่งได้ดังนี้

1. ไขมัน (Fats) และ น้ำมัน (Oils)
     ⦁  Triglyceride ประกอบด้วย กรดไขมัน (Fatty acid) และ กลีเซอรอล (Glycerol)
     ⦁  แหล่ง
          -  Vegetable Oil :  Olive Oil, Sunflower Oil, Macadamia Nut Oil, Coconut Oil, 
                                   Shea Butter
          -  Animal Oil :  Tallow (Beef), Mink Oil, Egg York Oil
     ⦁  ประโยชน์
          เป็นสารอิมอลเลียนต์ (Emollient agent)
          -  เป็นตัว Binder ใน  Make up product

2. ไขแข็ง (Waxes)
     ⦁  Ester ประกอบด้วย  Fatty acid และ Fatty alcohol
     ⦁  แหล่ง
          -  Vegetable :  Carnauba Wax, Candelila Wax, Jojoba Oil*
          -  Animal :  Lanolin, Beeswax
          -  Synthetic :  Cetyl Palmitate
     ⦁  ประโยชน์
          -  ใช้เพิ่มความหนืด (Viscosity) สำหรับ ผลิตภัณฑ์อิมัลชัน (Emulsion product)
          -  Viscous agent สำหรับ Foundation product

3. ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbons)
     ⦁  เป็นสารประกอบอินทรีย์ (Organic compound) ประกอบด้วย คาร์บอน และ ไฮโดรเจน
     ⦁  แหล่ง
          -  Petroleum :  Liquid Paraffin, Paraffin, Microcrystalline Wax, Vaseline
          -  Animal :  Squalene จากปลาฉลาม  *ซึ่งบางที่เค้าแบนแล้ว
          -  Vegetable :  Squalene
          -  Synthetic :  Polyethylene, Polybutene, Synthetic Squalene
     ⦁  ประโยชน์
          -  เข้ากันได้ดีกับ Oil
          -  เกิดฟิล์มกันน้ำ

4. กรดไขมัน (Fatty acid)
     ⦁  หมู่ฟังก์ชัน :  R-COOH
     ⦁  แหล่ง
          -  Animal :  Tallow
          -  Vegetable :  Palm, Caster Oil, Myristic Acid, Lauric Acid
          -  Synthetic :  Isostearic Acid
     ⦁  ประโยชน์
          -  Emulsifier ด้วย Alkaline agent
          -  Soap Base

5. แอลกอฮอล์ (Alcohol)
     ⦁  เป็นสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ฟังก์ชัน คือ หมู่ไฮดรอกซิล (-OH)
     ⦁  ได้แก่ Ethyl Alcohol, Isopropyl Alcohol

6. เอสเทอร์ (Ester)
     ⦁  ได้มาจากปฏิกิริยาระหว่าง กรดไขมัน กับ แอลกอฮอล์
     ⦁  ได้แก่ Isopropyl Myristate, Ethyl Oleate, Isopropyl Palmitate, Cetyl Palmitate, 
          Myristyl Myristate, Octyl Dodecyl Myristate, Octyl Dodecyl Oleate, 
          Myristyl Lactate, Cetyl Lactate
     ⦁  ประโยชน์
          -  ให้ความยืดหยุ่น รู้สึกเรียบเนียน (ช่วยด้าน Skin Sensory)
          -  ปรับความข้น
          เข้าได้ดีทั้ง Polar และ Non-polar Oil


0 ความคิดเห็น

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โครงสร้างของผิวหนัง : ชั้นไขมัน (Hypodermis / Subcutaneous tissues)

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ที่มา : school.net.th
  เป็นที่สะสมไขมันของร่างกาย
  ประกอบด้วย ชั้นของไขมัน และ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissues)
  มีเส้นโลหิต และเส้นประสาทจำนวนมาก
  ป้องกันการกระทบกระแทก
*บางลงเมื่ออายุมากขึ้น
*ความหนาบางของชั้นนี้ จะแตกต่างกันทั่วร่างกาย และแตกต่างกันในแต่ละคน

องค์ประกอบของไขมันที่ผิวหนัง

ไขผิวหนัง : ช่วยป้องกันการสูญเสียความชื้นจากหนังกำพร้า สร้างมากสุดช่วงอายุ 20 ปี  
                  สร้างลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
Sebum : ผลิตโดย ต่อมไขมัน  
               หน้าที่หลักคือ การรักษาความชุ่มชื้น หล่อลื่น และปกป้องผิวและผม


0 ความคิดเห็น

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โครงสร้างของผิวหนัง : ชั้นหนังแท้ (Dermis)

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ที่มา : thoengwit.ac.th
2. ชั้นหนังแท้ (Dermis)
    ⦁  ประกอบด้วยสาร คอลลาเจน และ อีลาสติน
         *ถ้าชั้นนี้ถูกทำลายจะเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น
    ⦁  มีความหนาประมาณ  2 – 3 มิลลิเมตร
    ⦁  มีต่อมไขมัน ผลิตไขมัน ทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น
    ⦁  มีต่อมเหงื่อ เพื่อปรับสภาวะและรักษาอุณหภูมิของร่างกาย

คอลลาเจน (Collagens)
  เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นเส้นใย  และเป็นโปรตีนที่พบมากที่สุด 25% ของโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย
  เส้นใยคอลลาเจนให้ความยืดหยุ่นสูง และให้การยึดเหนี่ยวอวัยวะ ข้อต่อ และเนื้อเยื่อ ตลอดจนกล้ามเนื้อของร่างกาย เข้าด้วยกัน
  คอลลาเจน ทำงานร่วมกับ อีลาสติน เพื่อการพยุงเนื้อเยื่อของร่างกาย  ช่วยรักษาสภาพรูปร่าง  ให้ความแข็งแรง และให้ความยืดหยุ่น
*เมื่ออายุมากขึ้น คอลลาเจนถูกทำลาย จึงเป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอย

อีลาสติน (Elastin)
  เป็นโปรตีนที่พบในผิวของร่างกาย ช่วยให้ผิวเรียบเนียน
  ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น แต่แน่น สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมหลังการดึงยืดออก
*เมื่ออายุมากขึ้น อีลาสตินจะลดลง ทำให้ผิวเกิดริ้วรอย


0 ความคิดเห็น

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โครงสร้างของผิวหนัง : ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ที่มา : bodysystemm.wikispaces.com
1. ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)
     ⦁  มีความหนาประมาณ  0.1 – 0.3 มิลลิเมตร
     ⦁  มีวงจรในการหลุดลอก  28 วัน
     ⦁  ควบคุมการระเหย และการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกาย
     ⦁  มี เซลล์สร้างเม็ดสี ทำให้เกิดสีผิวแตกต่างกัน เช่น ผิวขาว เหลือง หรือดำ
         **ในเด็ก ขบวนการนี้จะเกิดขึ้นเร็ว  ทำให้เด็กมีผิวหน้าใส เรียบเกลี้ยง  แต่เมื่ออายุมากขึ้น
              กระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นช้าๆ ทำให้การผลัดเซลล์ผิวช้าลง ขี้ไคลก็จะพอกหนาขึ้น

ที่มา : busyducky.bloggang.com
Keratinocytes
  เป็นเซลล์ที่มีอยู่มากถึง 95% ในชั้น epidermis
  หน้าที่ คือ สร้างชั้นของ keratin เพื่อปกป้องผิวในชั้นล่างๆ ลงไป
    กระบวนการนี้เรียกว่า  Keratinzation หรือ Cornification
  เซลล์ที่ตายแล้วจะอยู่ชั้นบนสุด จะค่อยๆ หลุดลอกออกไป และเซลล์ใหม่จะขึ้นมาแทนที่ 
    ใช้เวลาประมาณ 28 วัน

Melanocytes
  เป็นเซลล์สร้างเม็ดสีที่แทรกอยู่ระหว่างเซลล์ในชั้น Stratum basale
    มีจำนวนประมาณ  5 – 10 % ของเซลล์ในชั้นนี้
  สร้างเม็ดสี เรียกว่า melanin  ส่งให้แก่ keratinocytes
  เนื่องจากจำนวนเซลล์ และคุณสมบัติของเม็ดสีที่สร้างขึ้น ตลอดจนปริมาณการสร้างเม็ดสี 
    melanin  ส่งผลให้สีผิวที่ปรากฏแตกต่างกัน


0 ความคิดเห็น

Top 5 บทความที่มีคนเปิดดูมากที่สุด