วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เครื่องสำอางในรูปครีม หรือโลชั่น

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เครื่องสำอางในรูปครีม หรือโลชั่น จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยม ซึ่งจะอยู่ในรูปของ อิมัลชัน โดย

ชนิดของอิมัลชัน  แบ่งตามขนาดของอนุภาค (Droplet size) ได้ดังนี้

1.  แมคโครอิมัลชัน (Macroemulsion)
     คือ อิมัลชันลักษณะขุ่นขาวที่พบโดยทั่วไปนั่นเอง อนุภาคของวัฏภาคภายในของอิมัลชันชนิดนี้มักมีขนาดตั้งแต่ 0.25 – 10 ไมครอน (โดยทั่วไป > 1 ไมครอนทำให้เกิดความแตกต่างในค่าดัชนีการหักเหของแสงของวัฏภาคทั้งสอง และเกิดการกระจายแสงทำให้ดูขุ่นขาว

2.  ไมโครอิมัลชัน (Microemulsion)
     มีลักษณะโปร่งใส เนื่องจากอนุภาคของวัฏภาคภายในเล็กมาก (ประมาณ 10 – 75 นาโนเมตร) ซึ่งมีค่าน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของความยาวคลื่นแสงที่มองเห็นได้ (Visible light) จึงไม่หักเห หรือกระจายแสง  แสงจึงสามารถทะลุผ่านได้ ทำให้ดูโปร่งใส หยดของวัฏภาคภายในมีลักษณะกลม ถูกล้อมรอบด้วยฟิล์มของตัวทำอิมัลชัน


3.  นาโนอิมัลชัน (Nanoemulsion)
     เป็นระบบในรูปแบบของเหลวใสที่มีความคงตัวทางเทอร์โมไดนามิกส์สูง  มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น oil-in-water emulsions หรือ submicron emulsion หรือ miniemulsion  มีลักษณะของอนุภาคที่เรียกว่า ไมเซลล์ (micelle) ที่มีขนาดประมาณ 10 – 140 นาโนเมตร โดยมีส่วนประกอบหลัก คือ น้ำมัน น้ำ และสารลดแรงตึงผิว โดยสามารถคงรูปอยู่ได้จากผิวฟิล์มของสารลดแรงตึงผิว  สามารถเตรียมได้จากสารลดแรงตึงผิวหลายชนิด แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นพิษของสารเช่นกัน  แต่โดยทั่วไปแล้วจำเป็นต้องใช้สารลดแรงตึงผิวในปริมาณที่สูงเพื่อเพิ่มความคงตัวของของเหลว


0 ความคิดเห็น

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ส่วนผสมที่อยู่ในเครื่องสำอาง (part 3)

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

10. แป้ง และ สี (Powder & Dye)
      ⦁  Talcum, Titanium Dioxide (TiO2), Iron Oxides

11. วิตามิน (Vitamins)
      ⦁  นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ได้แก่ วิตามิน A (Retinyl Palmitate), 
                                                        วิตามิน E (Tocopheryl Acetate)

12. สารป้องกันแสงแดด (UV Absorber & Blocker)
      ⦁  เช่น Benzophenone-3 (Oxybenzone 10%), Titanium Dioxide (ใช้สูงสุด 25%), 
          Octylmethoxy cinamate หรือ OMC (สูงสุด 10%)
          *ถ้าใส่ปริมาณเกินที่กำหนด จะไปยื่นขอจดแจ้งที่ อย. ไม่ได้


    *ข้อสังเกต :  Titanium Dioxide (TiO2คุณสมบัติ  
                         ถ้าใส่น้อย จะให้สี  แต่ถ้าใส่เยอะหน่อย จะช่วยป้องกันแสงแดด

13. สารกันเสีย (Preservative)
      ⦁  ได้แก่  Methylparaben, Propylparaben, Phenoxy ethanol

14. สารต้านออกซิเดชัน (Antioxidant Agent)
      ⦁  เป็นสารป้องกันการหืน
      ⦁  ได้แก่  BHT (Butylated hydroxytoluene), BHA (Butylated hydroxyanisole)

15. สารคีเลทติ้ง (Chelating Agent)
      ⦁  ได้แก่  EDTA

16. สารสกัดจากธรรมชาติ (Natural Extract)
      ⦁  ได้แก่  Cucumber Extract, Mulberry Extract, Witch Hazel Extract

 

17. น้ำหอม (Perfume)
      ⦁  ใช้แต่งกลิ่น
      ⦁  ตัวอย่างเช่น
           น้ำหอมระเหย สกัดได้จากดอกไม้ เช่น ดอกลาเวนเดอร์ ดอกกุหลาบ
           สารหอมสังเคราะห์ เป็นสาร Organic ประเภท Aromatic compounds
           -  น้ำหอมผสม ได้จากการนำสารหอมสังเคราะห์หลายชนิดมาผสมผสานกัน ได้กลิ่น
               ดอกไม้ธรรมชาติ ราคาถูก และคงตัวกว่า เช่น กลิ่นกุหลาบ เป็นต้น

 


0 ความคิดเห็น

ส่วนผสมที่อยู่ในเครื่องสำอาง (part 2)


7. ซิลิโคน ออยล์ (Silicone Oils)
    ⦁  เป็นน้ำมันที่มีความหนืด ตั้งแต่เหลวจนกึ่งแข็ง ขึ้นกับค่า n (Siloxan Unit)
    ⦁  อาจอยู่ในรูป Cyclic molecules เช่น Cyclomethicone
    ⦁  คุณสมบัติ  มีความคงตัวทางเคมีสูง

8. โพลิออล (Polyol)
    ⦁  เป็นพอลิเมอร์ที่มีจำนวนหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป ในสายโซ่โมเลกุล
    ⦁  แหล่ง
         -  Vegetable & Animal :  Glycerin ได้จากกระบวนการ Saponification ของไขมัน 
             และ Oil
         -  Synthetic :  Ethylene Glycol, PEG, PG, Glycerin
    ⦁  ประโยชน์
         -  ให้ความชุ่มชื้น
         ใช้เป็น Stabilizer ที่อุณหภูมิต่ำ

9. สารลดแรงตึงผิว (Surfactant)
    ⦁  คือ “Amphyphylic”  เป็นสารที่มีลักษณะโมเลกุลประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 
         -  ส่วนหัวที่ชอบน้ำ สามารถรวมกับน้ำได้ดี (Hydrophilic) กับ 
         -  ส่วนหางที่ไม่ชอบน้ำ แต่สามารถละลายกับน้ำมันได้ดี (Hydrophobic)

Surfactant : Soap Film
    ⦁  ประโยชน์
         ทำหน้าที่เป็น Emulsifier, Solubilizer, Wetting Agent, Detergent
    ⦁  สารลดแรงตึงผิว สามารถแบ่งออกได้ 4 ชนิด ได้แก่
         1.  Nonionic Surfactant :  ละลายน้ำแล้วจะไม่แตกตัว จึงไม่มีประจุ
         2.  Anionic Surfactant :  ละลายน้ำแล้วจะแตกตัว และส่วนหัวจะมีประจุเป็นลบ
         3.  Cationic Surfactant :  ละลายน้ำแล้วจะแตกตัว ส่วนหัวมีประจุเป็นบวก
         4.  Amphoteric Surfactant :  มีทั้งประจุบวกและลบ ละลายน้ำจะแสดงประจุบวก ถ้า
               สภาพแวดล้อมเป็นกรด และจะแสดงประจุลบถ้าเป็นด่าง


0 ความคิดเห็น

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ส่วนผสมที่อยู่ในเครื่องสำอาง (part 1)

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ส่วนผสมที่อยู่ในเครื่องสำอาง มีมากมายหลายอย่างซึ่ง
แหล่งของวัตถุดิบ (Ingredient Sources)  อาจจะได้มาจาก
    ⦁  สัตว์ (Animal)
    ⦁  พืช (Plant)
    ⦁  แร่ธาตุ (Mineral)
    ⦁  การสังเคราะห์ขึ้น (Synthetic)
    ⦁  เชื้อจุลชีพ เช่น แบคทีเรีย (Bacteria), เชื้อรา (Fungi) หรือ 
        สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอื่นๆ (other single celled organism)


โดย ส่วนผสมในเครื่องสำอาง สามารถแบ่งได้ดังนี้

1. ไขมัน (Fats) และ น้ำมัน (Oils)
     ⦁  Triglyceride ประกอบด้วย กรดไขมัน (Fatty acid) และ กลีเซอรอล (Glycerol)
     ⦁  แหล่ง
          -  Vegetable Oil :  Olive Oil, Sunflower Oil, Macadamia Nut Oil, Coconut Oil, 
                                   Shea Butter
          -  Animal Oil :  Tallow (Beef), Mink Oil, Egg York Oil
     ⦁  ประโยชน์
          เป็นสารอิมอลเลียนต์ (Emollient agent)
          -  เป็นตัว Binder ใน  Make up product

2. ไขแข็ง (Waxes)
     ⦁  Ester ประกอบด้วย  Fatty acid และ Fatty alcohol
     ⦁  แหล่ง
          -  Vegetable :  Carnauba Wax, Candelila Wax, Jojoba Oil*
          -  Animal :  Lanolin, Beeswax
          -  Synthetic :  Cetyl Palmitate
     ⦁  ประโยชน์
          -  ใช้เพิ่มความหนืด (Viscosity) สำหรับ ผลิตภัณฑ์อิมัลชัน (Emulsion product)
          -  Viscous agent สำหรับ Foundation product

3. ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbons)
     ⦁  เป็นสารประกอบอินทรีย์ (Organic compound) ประกอบด้วย คาร์บอน และ ไฮโดรเจน
     ⦁  แหล่ง
          -  Petroleum :  Liquid Paraffin, Paraffin, Microcrystalline Wax, Vaseline
          -  Animal :  Squalene จากปลาฉลาม  *ซึ่งบางที่เค้าแบนแล้ว
          -  Vegetable :  Squalene
          -  Synthetic :  Polyethylene, Polybutene, Synthetic Squalene
     ⦁  ประโยชน์
          -  เข้ากันได้ดีกับ Oil
          -  เกิดฟิล์มกันน้ำ

4. กรดไขมัน (Fatty acid)
     ⦁  หมู่ฟังก์ชัน :  R-COOH
     ⦁  แหล่ง
          -  Animal :  Tallow
          -  Vegetable :  Palm, Caster Oil, Myristic Acid, Lauric Acid
          -  Synthetic :  Isostearic Acid
     ⦁  ประโยชน์
          -  Emulsifier ด้วย Alkaline agent
          -  Soap Base

5. แอลกอฮอล์ (Alcohol)
     ⦁  เป็นสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ฟังก์ชัน คือ หมู่ไฮดรอกซิล (-OH)
     ⦁  ได้แก่ Ethyl Alcohol, Isopropyl Alcohol

6. เอสเทอร์ (Ester)
     ⦁  ได้มาจากปฏิกิริยาระหว่าง กรดไขมัน กับ แอลกอฮอล์
     ⦁  ได้แก่ Isopropyl Myristate, Ethyl Oleate, Isopropyl Palmitate, Cetyl Palmitate, 
          Myristyl Myristate, Octyl Dodecyl Myristate, Octyl Dodecyl Oleate, 
          Myristyl Lactate, Cetyl Lactate
     ⦁  ประโยชน์
          -  ให้ความยืดหยุ่น รู้สึกเรียบเนียน (ช่วยด้าน Skin Sensory)
          -  ปรับความข้น
          เข้าได้ดีทั้ง Polar และ Non-polar Oil


0 ความคิดเห็น

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โครงสร้างของผิวหนัง : ชั้นไขมัน (Hypodermis / Subcutaneous tissues)

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ที่มา : school.net.th
  เป็นที่สะสมไขมันของร่างกาย
  ประกอบด้วย ชั้นของไขมัน และ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissues)
  มีเส้นโลหิต และเส้นประสาทจำนวนมาก
  ป้องกันการกระทบกระแทก
*บางลงเมื่ออายุมากขึ้น
*ความหนาบางของชั้นนี้ จะแตกต่างกันทั่วร่างกาย และแตกต่างกันในแต่ละคน

องค์ประกอบของไขมันที่ผิวหนัง

ไขผิวหนัง : ช่วยป้องกันการสูญเสียความชื้นจากหนังกำพร้า สร้างมากสุดช่วงอายุ 20 ปี  
                  สร้างลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
Sebum : ผลิตโดย ต่อมไขมัน  
               หน้าที่หลักคือ การรักษาความชุ่มชื้น หล่อลื่น และปกป้องผิวและผม


0 ความคิดเห็น

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โครงสร้างของผิวหนัง : ชั้นหนังแท้ (Dermis)

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ที่มา : thoengwit.ac.th
2. ชั้นหนังแท้ (Dermis)
    ⦁  ประกอบด้วยสาร คอลลาเจน และ อีลาสติน
         *ถ้าชั้นนี้ถูกทำลายจะเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น
    ⦁  มีความหนาประมาณ  2 – 3 มิลลิเมตร
    ⦁  มีต่อมไขมัน ผลิตไขมัน ทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้น
    ⦁  มีต่อมเหงื่อ เพื่อปรับสภาวะและรักษาอุณหภูมิของร่างกาย

คอลลาเจน (Collagens)
  เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นเส้นใย  และเป็นโปรตีนที่พบมากที่สุด 25% ของโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย
  เส้นใยคอลลาเจนให้ความยืดหยุ่นสูง และให้การยึดเหนี่ยวอวัยวะ ข้อต่อ และเนื้อเยื่อ ตลอดจนกล้ามเนื้อของร่างกาย เข้าด้วยกัน
  คอลลาเจน ทำงานร่วมกับ อีลาสติน เพื่อการพยุงเนื้อเยื่อของร่างกาย  ช่วยรักษาสภาพรูปร่าง  ให้ความแข็งแรง และให้ความยืดหยุ่น
*เมื่ออายุมากขึ้น คอลลาเจนถูกทำลาย จึงเป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอย

อีลาสติน (Elastin)
  เป็นโปรตีนที่พบในผิวของร่างกาย ช่วยให้ผิวเรียบเนียน
  ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น แต่แน่น สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมหลังการดึงยืดออก
*เมื่ออายุมากขึ้น อีลาสตินจะลดลง ทำให้ผิวเกิดริ้วรอย


0 ความคิดเห็น

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โครงสร้างของผิวหนัง : ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ที่มา : bodysystemm.wikispaces.com
1. ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)
     ⦁  มีความหนาประมาณ  0.1 – 0.3 มิลลิเมตร
     ⦁  มีวงจรในการหลุดลอก  28 วัน
     ⦁  ควบคุมการระเหย และการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกาย
     ⦁  มี เซลล์สร้างเม็ดสี ทำให้เกิดสีผิวแตกต่างกัน เช่น ผิวขาว เหลือง หรือดำ
         **ในเด็ก ขบวนการนี้จะเกิดขึ้นเร็ว  ทำให้เด็กมีผิวหน้าใส เรียบเกลี้ยง  แต่เมื่ออายุมากขึ้น
              กระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นช้าๆ ทำให้การผลัดเซลล์ผิวช้าลง ขี้ไคลก็จะพอกหนาขึ้น

ที่มา : busyducky.bloggang.com
Keratinocytes
  เป็นเซลล์ที่มีอยู่มากถึง 95% ในชั้น epidermis
  หน้าที่ คือ สร้างชั้นของ keratin เพื่อปกป้องผิวในชั้นล่างๆ ลงไป
    กระบวนการนี้เรียกว่า  Keratinzation หรือ Cornification
  เซลล์ที่ตายแล้วจะอยู่ชั้นบนสุด จะค่อยๆ หลุดลอกออกไป และเซลล์ใหม่จะขึ้นมาแทนที่ 
    ใช้เวลาประมาณ 28 วัน

Melanocytes
  เป็นเซลล์สร้างเม็ดสีที่แทรกอยู่ระหว่างเซลล์ในชั้น Stratum basale
    มีจำนวนประมาณ  5 – 10 % ของเซลล์ในชั้นนี้
  สร้างเม็ดสี เรียกว่า melanin  ส่งให้แก่ keratinocytes
  เนื่องจากจำนวนเซลล์ และคุณสมบัติของเม็ดสีที่สร้างขึ้น ตลอดจนปริมาณการสร้างเม็ดสี 
    melanin  ส่งผลให้สีผิวที่ปรากฏแตกต่างกัน


0 ความคิดเห็น

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เครื่องสำอาง กับ เวชสำอาง ต่างกันอย่างไร ?

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ความแตกต่างระหว่าง เครื่องสำอาง กับ เวชสำอาง สามารถสรุปออกมาเป็นตารางได้ดังนี้


จากตารางจะเห็นได้ว่า เครื่องสำอาง หรือ เวชสำอาง ต่างก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความ Active ในการดูดซึมผ่านผิวหนัง  ต่างกันตรงที่ เครื่องสำอางจะไม่มีผลกระทบต่อโรค หรือโครงสร้างของผิวหนัง หรือความผิดปกติของผิวหนัง รวมทั้งไม่มีผลข้างเคียงด้วย  

แต่ เวชสำอาง (Quasi-Drug) จะมีผล เช่น
  Anti-aging :  ต้านการเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น
  Whitening :  ช่วยให้ผิวขาวขึ้น
  Sunscreening :  ช่วยป้องกันแสงแดด


0 ความคิดเห็น

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการยื่นจดแจ้งเครื่องสำอางกับ อย.

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
มีลำดับขั้นตอน และรายละเอียดดังนี้

1.  ยื่นขอประทับตรารับรองหนังสือมอบอำนาจ และยื่นขอรหัสผู้ประกอบการ
     จะมีแบบฟอร์มให้กรอก และในปัจจุบันสามารถยื่นเรื่องทางออนไลน์ได้แล้ว ทำให้สะดวกมาก ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเดินทาง  หลังจากนั้นให้รอผลการพิจารณา ถ้าผ่าน ก็สามารถรับเอกสารและหลักฐานที่ผ่านการรับรองได้  แต่ถ้าไม่ผ่าน หรือต้องแก้ไข ก็จะต้องรับเรื่องคืน
2.  แจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
     ⦁  ตรวจสอบส่วนผสมของเครื่องสำอางให้สอดคล้องตามกฎหมาย  เช่น ถ้าจะส่งออกไปจำหน่ายในบางประเทศ จะต้องมีเครื่องหมายฮาลาล เป็นต้น
     ⦁  นำแนวทางวิธีปฏิบัติที่ดีในการผลิตมาใช้ (Good Manufacturing Practice : GMP)
3.  ชำระค่าธรรมเนียมรายปี และชำระต่อในปีถัดไป
4.  จัดทำฉลากภาษาไทย ให้ครบถ้วน และถูกต้องตามกฎหมาย ผนึกติดที่ภาชนะบรรจุเครื่องสำอางก่อนออกจำหน่าย
5.  จัดทำ แฟ้มข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Product Information File : PIF)  ซึ่งเป็นข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด เช่น คุณสมบัติของวัตถุดิบทั้งหมด  ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และของสารแต่ละชนิดที่ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง  สูตรส่วนผสมของเครื่องสำอาง  หลักฐานการกล่าวอ้างสรรพคุณ (ถ้ามี) เก็บไว้ที่สถานที่ประกอบกิจการเครื่องสำอาง และต้องส่งมอบให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ถ้ามีการร้องขอ


สิ่งสำคัญที่ต้องมีในฉลากของเครื่องสำอาง

1.  ชื่อเครื่องสำอาง และชื่อทางการค้า
2.  ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง
3.  ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม INCI Name อ่านว่า "อินคี่เนม"  ย่อมาจาก International Nomenclature for Cosmetic Ingredients)  เนื่องจากบางที่เอาสูตรการผลิตมาจากผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่น  โดยเรียงลำดับปริมาณของสารจากมากไปหาน้อย
4.  วิธีใช้เครื่องสำอาง
5.  ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต (ผลิตในประเทศ)
     ชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้า และชื่อผู้ผลิต และประเทศที่ผลิต (เครื่องสำอางนำเข้า)
6.  ปริมาณสุทธิ
7.  เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต
8.  เดือน ปี ที่ผลิต
9.  เดือน ปี ที่หมดอายุ (เครื่องสำอาง)
10. คำเตือน (ถ้ามี)
11. เลขที่ใบรับแจ้ง


0 ความคิดเห็น

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การแบ่งประเภทของเครื่องสำอาง (ต่อ)

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ สามารถแบ่งออกได้ตาม ประเภทของผลิตภัณฑ์  ประกอบด้วย
1.  สิ่งปรุงแต่งที่ใช้แต่งหน้า (Make up) หรือ บำรุงผิว (Skin care)
2.  สิ่งปรุงแต่งสำหรับใช้กับผม (Hair care)
3.  สิ่งปรุงแต่งเพื่ออนามัยในช่องปากและฟัน 
     สิ่งปรุงแต่งที่ใช้โกนหนวด อาบน้ำ และดับกลิ่นตัว
     หัวน้ำหอม และน้ำหอม (Toiletries)

และยังสามารถ แบ่งตามส่วนของร่างกายที่ใช้ ได้ดังนี้
1.  เส้นผม (Hair care) เช่น แชมพู
2.  ช่องปาก (Oral care) เช่น น้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟัน
3.  ใบหน้า (Face) จัดอยู่ในกลุ่ม Skin care เช่น ครีมบำรุงผิวหน้า ผลิตภัณฑ์ Make up
4.  รอบดวงตา (Eye) จัดอยู่ในกลุ่ม Skin care เช่น Eye cream
5.  ริมฝีปาก (Lip care) จัดอยู่ในกลุ่ม Skin care เช่น ลิปบาล์ม ลิปกลอส
6.  ร่างกาย (Body care) หรือผิวหนังโดยทั่วไป  ได้แก่ Skin care เช่น ครีมบำรุงผิวกาย โลชั่นกันแดด กลุ่มน้ำหอมระงับกลิ่นกาย
7.  มือ (Hand) จัดอยู่ในกลุ่ม Skin care เช่น Hand cream, Hand gel
8.  เล็บ (Nail) เช่น ยาทาเล็บ น้ำยาล้างเล็บ
9.  ทรวงอก (Breast) จัดอยู่ในกลุ่ม Skin care เช่น ผลิตภัณฑ์พอกผิวทรวงอก
10. จุดซ่อนเร้น (Vagina) จัดอยู่ในกลุ่ม Skin care เช่น น้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
11. เท้า (Foot care) จัดอยู่ในกลุ่ม Skin care เช่น Foot cream, Foot lotion

จะเห็นได้ว่า เครื่องสำอางมีความเกี่ยวข้องกับเราแทบทุกส่วนของร่างกาย เพราะไม่ว่าใครก็อยากที่จะดูดี ดูสะอาด เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพให้มีความมั่นใจ และเป็นที่พึงปรารถนาต่อผู้ที่พบเห็น


0 ความคิดเห็น

การแบ่งประเภทของเครื่องสำอาง


เดิมเครื่องสำอางถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.  เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ  ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ย้อมผมถาวร ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ ผลิตภัณฑ์ดัดผม ยืดผม ฟอกสีผม กำจัดขน
2.  เครื่องสำอางควบคุม  ได้แก่ เครื่องสำอางที่ผสมสารป้องกันแสงแดด ผ้าอนามัย ผลิตภัณฑ์ขจัดรังแคที่มีสารซิงก์ไพริไทออน หรือ ไพรอกโทน โอลามีน แป้งฝุ่นโรยตัว
3.  เครื่องสำอางทั่วไป  ได้แก่ แชมพู ครีมนวดผม สเปรย์ เจลแต่งผม

ปัจจุบัน มีเครื่องสำอางประเภทเดียวที่จะต้องไปยื่นจดแจ้งที่ อย. คือ เครื่องสำอางควบคุม
ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.. 2535
เครื่องสำอางควบคุม หมายถึง เครื่องสำอางที่ผู้ผลิตและผู้นำเข้าจะต้องแจ้งรายละเอียดของเครื่องสำอางควบคุม และชำระค่าธรรมเนียมรายปี จึงจะผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางควบคุมได้

โดยทั่วไป มักแบ่งเครื่องสำอางเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามประโยชน์ใช้งาน คือ
1.  ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หรือ สกินแคร์ (Skin care products)
2.  ผลิตภัณฑ์แต่งหน้า หรือ เมคอัพ (Make up products)


ถ้า แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้ จะสามารถแบ่งได้ดังนี้
1.  เครื่องสำอางทำความสะอาด (Cleansing cosmetics)  ได้แก่  สบู่ แชมพู ครีมนวดผม ยาสีฟัน แอลกอฮอล์เจล เจลล้างหน้า ครีมโกนหนวด ครีมอาบน้ำ น้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น น้ำมันล้างหน้า
2.  เครื่องสำอางบำรุงผิว  ได้แก่ โลชั่นบำรุงผิว ครีมกันแดด ซีรั่มบำรุงผม ลิปบาล์มที่ไม่มีสี
3.  เครื่องสำอางสำหรับตกแต่ง (Make up)  เช่น ครีมรองพื้น ลิปกลอส อายแชโดว์ บลัชออน ดินสอเขียนคิ้ว มาสคาร่า


3 ความคิดเห็น

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เครื่องสำอาง มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ?

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เครื่องสำอาง จัดเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มีมาแต่สมัยโบราณ  มีการค้นพบว่า มีการใช้เครื่องสำอางมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ จีน อินเดีย และต่อมาจนถึงปัจจุบัน  โดยชาวกรีกเป็นชาติแรกที่มีการแยกการแพทย์และเครื่องสำอางออกจากกิจการทางศาสนา และยังถือว่าการใช้เครื่องสำอางเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติต่อร่างกายให้ถูกต้องสม่ำเสมอ เป็นกิจวัตรประจำวัน

เครื่องสำอาง (Cosmetics)  มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ว่า “kosmetikos”  ซึ่งมีความหมายว่า ตกแต่งให้สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้พบเห็น  คำว่า komos แปลว่า เครื่องประดับ  โดยในสมัยแรกๆนั้น ใช้เครื่องสำอางเนื่องจากความจำเป็น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม หรือธรรมชาติ

Cleopatra Logo
อียิปต์ เป็นชาติแรกที่รู้จักคิดค้นและผลิตเครื่องสำอาง โดยได้มีการเผาเครื่องหอมหรือกำยาน และมีการใช้เครื่องเทศ สมุนไพร และน้ำมันต่างๆ สำหรับรักษาคงสภาพของศพ  ทั้งยังค้นพบผงสำหรับทาเปลือกตา (Kohl) ดินสอเขียนคิ้วและเขียนขอบตาจากที่ฝังพระศพของกษัตริย์

Egypt Cosmetic Box
Double Kohl Tube and Stick 
ในปี ค..1895  ได้มีการเปิดสอนวิชาการเครื่องสำอาง เป็นครั้งแรก ในเมืองชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา  ทำให้นักศึกษาได้รู้จักวิธีการใช้เครื่องสำอางชนิดต่างๆ ในการรักษาผิวหนังและเส้นผม  ต่อมาการศึกษาวิชานี้ได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นที่นิยมในที่สุด


1 ความคิดเห็น

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สารสกัดจากธรรมชาติ ได้มาอย่างไร ?

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
Eucalyptus caesia leaves
สารสกัดจากธรรมชาติ (Natural extract) เช่น สารพวกอัลคาลอยด์ น้ำมันพืช น้ำมันหอมระเหย สารที่มีสี หรือสารที่มีกลิ่น จากส่วนต่างๆ ของพืช  จะถูกสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับแยกสารออกจากของผสมที่เป็นสารอินทรีย์

การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent extraction)  เป็นการแยกสารโดยอาศัยสมบัติของการละลายของสารในตัวทำละลาย ซึ่งจะต้องเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารที่ต้องการออกจากของผสม

หลักในการเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสม มีดังนี้
1.  ต้องสามารถละลายสารที่ต้องการสกัดได้ดี และไม่ละลายสารอื่นที่ไม่ต้องการสกัด
2.  ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด
3.  ต้องแยกคืนออกจากสารละลาย หรือแยกออกจากสารที่ต้องการสกัดได้ง่าย
4.  มีราคาถูก และไม่เป็นพิษ

Liquid - liquid extraction
ตัวอย่างการแยกสารโดยวิธีสกัดด้วยตัวทำละลาย เช่น ถ้ามีเกลือแกงปนอยู่กับแนพทาลีน (ลูกเหม็น) ก็ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เพราะเกลือแกงสามารถละลายในน้ำได้ดี แต่ลูกเหม็นไม่ละลายน้ำ  ดังนั้นเมื่อละลายน้ำแล้วกรองก็จะได้แนพทาลีนติดอยู่บนกระดาษกรอง ส่วนสารละลายที่ได้เมื่อนำไประเหยจนแห้งก็จะได้เกลือแกง  หรืออาจจะใช้ตัวทำละลายอื่นก็ได้ เช่น เบนซีน  ซึ่งแนพทาลีนสามารถละลายได้ แต่เกลือแกงไม่ละลาย  ถ้าหากเปรียบเทียบกันจะพบว่าการใช้น้ำจะดีกว่า เพราะเป็นตัวทำละลายที่หาได้ง่าย ไม่อันตราย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

การสกัดสารด้วยตัวทำละลายเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง และมีประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งในด้านงานวิจัย และในทางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมน้ำมันพืช  เพื่อที่จะพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ คิดค้นตัวยา หรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในผลิตภัณฑ์เพื่อการบำรุงผิว ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และอาหารเสริมต่างๆ


0 ความคิดเห็น

การแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากส่วนต่างๆ ของพืช


น้ำมันหอมระเหย (Essential oils)  ตัวอย่างเช่น การแยกน้ำมันมะกรูดออกจากผิวมะกรูด  การแยกน้ำมันยูคาลิปตัสออกจากใบยูคาลิปตัส  การแยกน้ำมันอบเชยจากเปลือกต้นอบเชย เป็นต้น  จะแยกสารโดยใช้การกลั่นด้วยไอน้ำ

การกลั่นด้วยไอน้ำ (Steam Distillation)  เป็นวิธีการสกัดสารออกจากของผสมโดยใช้ไอน้ำเป็นตัวทำละลาย วิธีนี้ใช้สำหรับแยกสารที่ระเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกจากสารที่ระเหยยาก

ในการกลั่น ไอน้ำจะไปทำให้น้ำมันหอมระเหยกลายเป็นไอแยกออกมาพร้อมกับไอน้ำ เมื่อทำให้ไอของของผสมควบแน่นโดยผ่านเครื่องควบแน่น ก็จะได้น้ำและน้ำมันหอมระเหยปนกันแต่แยกชั้นกันอยู่ โดยน้ำจะอยู่ชั้นล่าง ส่วนน้ำมันหอมระเหยจะอยู่ชั้นบน จึงทำให้สามารถแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำได้ง่าย  โดยนำไปเทใส่ใน กรวยแยก (Separating Funnel) แล้วตั้งทิ้งไว้ น้ำซึ่งหนักกว่าจะอยู่ชั้นล่าง ส่วนน้ำมันเบากว่าจะอยู่ชั้นบน  เมื่อเปิดก๊อกที่ก้นกรวยแยก น้ำก็จะออกมาก่อนเพราะอยู่ชั้นล่าง เมื่อน้ำออกหมดจึงปิดก๊อก หลังจากนั้นเทส่วนของน้ำมันหอมระเหยที่เหลือออกทางปากของกรวยแยกเก็บไว้  ก็จะได้น้ำมันหอมระเหยสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป


0 ความคิดเห็น

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิธีทำนํ้าทะเลให้กลายเป็นนํ้าจืด

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
นํ้าทะเล จะมีเกลือชนิดต่างๆ ละลายอยู่ ถ้าเราต้องการแยกของผสมของนํ้าทะเลออกจากนํ้า วิธีที่นิยมใช้คือ การกลั่น

การกลั่น (Distillation) เป็นวิธีที่ใช้แยกสารออกจากสารละลายที่เป็นของเหลว โดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือด  วิธีการคือ นำสารละลายที่เป็นของเหลวมาให้ความร้อนจนระเหยกลายเป็นไอ (vaporization) สารที่มีจุดเดือดตํ่าจะกลายเป็นไอออกมาก่อนสารที่มีจุดเดือดสูงกว่า (เพราะสารที่มีจุดเดือดตํ่า จะระเหยง่าย มีความดันไอสูง) แล้วทำให้ไอของสารแต่ละชนิดที่แยกได้เกิดการควบแน่น (condensation) กลับเป็นของเหลว หรือกลายเป็นของแข็ง แล้วแต่ธรรมชาติของสารที่แยกได้ แต่ส่วนใหญ่สารที่กลั่นได้จะเป็นของเหลว  ดังนั้น การกลั่นจึงเป็นวิธีที่สะดวกและใช้ทั่วไป เพื่อแยกของผสมที่เป็นของเหลว หรือ สารละลายที่มีสารระเหยยากเป็นตัวถูกละลาย

เครื่องมือที่ใช้ในการกลั่น เป็นเครื่องมือง่ายๆ ดังแสดงในรูป


โดยนำนํ้าทะเลใส่ในขวดกลั่น แล้วต้มสารละลายนี้ นํ้าซึ่งเป็นสารที่ระเหยง่ายกว่าจะระเหยเป็นไอ เมื่อไอนํ้าผ่านไปยังตัวคอนเดนเซอร์ (condenser) ซึ่งเย็น ไอนํ้าก็จะควบแน่นกลายเป็นนํ้า และไหลลงสู่ภาชนะรองรับ  ส่วนเกลือต่างๆ เป็นสารระเหยยาก จะไม่ถูกกลั่น จึงคงเหลืออยู่ในขวดกลั่น  เกลือและนํ้าจึงถูกแยกออกจากกันโดยวิธีกลั่นแบบง่ายๆนี้  และเกลือซึ่งยังคงเป็นของผสมอยู่อาจจะถูกแยกออกจากกันและกันต่อไปโดยวิธีการตกผลึก (recrystallization)

การกลั่นแบบธรรมดานี้ใช้สำหรับแยกสารละลายที่ประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวถูกละลายที่มีจุดเดือดต่างกันมากกว่า 80 oC ออกเป็นสารบริสุทธิ์  ถ้ามีจุดเดือดต่างกันน้อยกว่านี้จะต้องทำการ กลั่นซํ้าหลายๆครั้ง ซึ่งไม่สะดวกและสิ้นเปลือง

ดังนั้น ในพื้นที่ที่ติดทะเล เช่น บนเกาะ หรือพื้นที่ที่ขาดแคลนแหล่งนํ้าจืด ก็สามารถนำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้ได้ ก็จะทำให้ได้นํ้าบริสุทธิ์ สะอาด ทำได้ง่าย และสะดวก สำหรับใช้ในยามขาดแคลนได้


0 ความคิดเห็น

Top 5 บทความที่มีคนเปิดดูมากที่สุด