วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

  Product Sensory (ความรู้สึกสัมผัสต่อผลิตภัณฑ์)

  Product Stability (ความคงสภาพของผลิตภัณฑ์)

    การทดสอบการคงสภาพของผลิตภัณฑ์ (Product Stability Test)
    ⦁  การทดสอบแบบเร่ง (Accelerated Test)
         1.  การเร่งโดยอุณหภูมิ  การแยกชั้น  การตกตะกอน  เปลี่ยนสี กลิ่น pH  
               Viscosity  เป็นต้น
         2.  การเร่งโดยแสง  การเปลี่ยนสี กลิ่น
               ทดสอบโดยแสงแดด  และ UV lamp
         3.  การเร่งโดยแรงโน้มถ่วงของโลก  โดยการ Centrifuge
    ⦁  ลักษณะที่ปรากฏ (Appearance), สี (Color), กลิ่น (Odor)
    ⦁  ค่า pH
    ⦁  ความหนืด (Viscosity)
    ⦁  องค์ประกอบที่เป็นน้ำ (Water Content)
    ⦁  การทดสอบทางจุลชีววิทยา (Microbiological Test)
         ดูเชื้อ  นับจำนวนเชื้อ ด้วยวิธี Total Plate Count

⍟  Product Safety (ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์)
       ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ วัตถุดิบ (Raw Materials) และ ผลิตภัณฑ์ (Product)
           ⦁  การทดสอบการระคายเคืองเบื้องต้น (Primary Irritation Test)
           ⦁  การทดสอบการแพ้ (Skin Sensitization)
           ⦁  การทดสอบการแพ้ในคน (Human Patch Test)


⍟  Product Efficacy (ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์)
          ⦁  In vitro studies (การศึกษาในหลอดทดลอง)
          ⦁  In vivo studies (การศึกษาในสิ่งมีชีวิต)
                  Animal Studies (ในสัตว์)
                  Human Studies (ในคน)

      การวัด Product Efficacy  เช่น
          ⦁  SPF (Sun Protection Factor)
          ⦁  การวัดการสูญเสียน้ำทางผิว  TEWL (trans-epidermal water loss)
               ด้วยเครื่อง Tewameter® TM 210


วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

"เมคอัพ" หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องสำอางตกแต่ง

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ  Make-up Cosmetics กัน...

เมคอัพ หมายถึง เครื่องสำอางประเภทเสริมเติมแต่งให้สีสันบนใบหน้า  ช่วยแก้ไขและปกปิดส่วนบกพร่องบนใบหน้า  ช่วยเน้นส่วนต่างๆ ให้สวยเด่นขึ้น  ทำให้ใบหน้ามีสีสันและดูมีชีวิตชีวา


มีอะไรบ้าง ?  ได้แก่
    ⦁  แป้งทาหน้า (Facial powder)
    ⦁  รองพื้น (Foundation)
    ⦁  Blushers
    ⦁  มาสคาร่า (Mascara)
    ⦁  อายไลเนอร์ (Eye liner)
    ⦁  อายแชโดว์ (Eye shadow)
    ⦁  ดินสอเขียนคิ้ว (Eyebrow)
    ⦁  ลิปสติก (Lipstick)



Color Cosmetics (เครื่องสำอางสีสัน)

ประเภทของเครื่องสำอางแต่งสีสำหรับผิวหนัง  มีดังนี้
    1.  เครื่องสำอางประเภท แป้งผัดหน้า
    2.  เครื่องสำอางสำหรับ ตา
    3.  เครื่องสำอางใช้ แต่งแก้ม หรือ รู้ช (Rouges)
    4.  เครื่องสำอางใช้ แต่งปาก หรือ ลิปสติก (Lipsticks)



วิธีในการผลิตอิมัลชัน


การผลิตอิมัลชัน  มีอยู่ 2 วิธี

1.  วิธีไม่ใช้ความร้อน (Cold Process)
     ผลิตที่อุณหภูมิห้อง  ใช้พลังงานกล เช่น การกวนผสม
          ข้อดี  ประหยัดพลังงาน
          ข้อเสีย  ได้ Emulsion อนุภาคใหญ่  ไม่นิยมเพราะในสูตรจะมีพวก Waxes 
                          ต้องใช้ความร้อนในการหลอมละลาย

2.  วิธีใช้ความร้อน (Hot Process)
     อาศัยทั้งพลังงานความร้อน และพลังงานกล  
     (ให้ความร้อน Water Phase & Oil Phase ที่อุณหภูมิ 70 – 90 oC)
          ข้อดี  นิยมใช้ เพราะสูตรมีไขมัน หรือ Waxes  ความร้อนจะช่วยหลอมสาร
          ข้อเสีย  เสียพลังงานความร้อนในการหลอม Water Phase & Oil Phase  
                          และเสียเวลาในการทำให้ Emulsion เย็นตัว

**เทคนิคและสิ่งที่ควรระวังในการผสม
1.  วัตถุดิบ (Raw Materials)  :  ต้องมาจากแหล่งเดิม และมาจากบริษัทผู้ผลิตเดิม
2.  เครื่องมือ (Equipment)  :  พยายามใช้เครื่องเดิม
     เช่น   ถังผสม (Mixing Tank)
              เครื่องผสม (Agitator)
              เครื่องโฮโมจิไนเซอร์ (Homogenizer)
3.  เวลาในการกวนผสม (Mixing Time)  :  ต้องระยะสั้นที่สุด
4.  อัตราในการเย็น (Cooling Rate)
5.  ลำดับการเติม / ผสม (Ordering)  :  จะมีผลมาก
6.  อุณหภูมิที่ใช้ผสม (Temperature)


เปรียบเทียบความต่างระหว่าง ผลิตภัณฑ์อิมัลชัน และไม่ใช่อิมัลชัน

ผลิตภัณฑ์อิมัลชัน (Emulsion Product)




ผลิตภัณฑ์ไม่ใช่อิมัลชัน (Non-Emulsion Product)



จากส่วนประกอบที่อยู่ข้างใน จะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อิมัลชัน (Non-Emulsion Product) จะไม่มีในส่วนของ Oil Phase  แต่จะมี Water Phase เช่นเดียวกันกับผลิตภัณฑ์อิมัลชัน  มีการเติมสารเติมแต่ง (Additives) แต่จะไม่มีการเติม Emulsifier ลงไป  รวมทั้งยังมีการเติมองค์ประกอบอื่นๆอีกด้วย  นอกจากนี้ยังใช้กระบวนการในการผลิตที่แตกต่างกัน คือใช้ Solubilization Process  ไม่ใช่  Emulsification Process  จึงทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันนั่นเอง


วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อิมัลชัน (Emulsion Product)

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

1.  สารอิมอลเลียนต์ (Emollients)  ได้แก่          
     ⦁  น้ำมัน ไขมัน และไขแข็ง (ส่วน Oil Phase)

2.  สารฮิวแมกแตนท์ (Humectants)          
     ⦁  เป็นสารที่เพิ่มความชุ่มชื้น  จะมีสมบัติเก็บน้ำ ดูดน้ำเข้า กันน้ำออก
       เช่น  Propylene glycol, Glycerin, Sorbitol

3.  สารสำคัญ (Active Ingredients)  มีหน้าที่ คุณสมบัติเฉพาะ เช่น          
     ⦁  สารป้องกันแสงแดด  ได้แก่  Octyl Cinnamate, Oxybenzone, OMC, TiO2
       สารระงับการหลั่งเหงื่อ  ได้แก่  Aluminium Chlorhydrate
       สารชำระล้าง  ได้แก่  Sodium Lauryl Sulfate (SLS), SLES, 
         Ammonium Lauryl Sulfate
       สารอาหารและวิตามินต่างๆ  ได้แก่  Collagen, Vitamin A , Vitamin E

4.  ตัวทำอิมัลชัน (Emulsifying Agents / Emulsifier) 
     
  ทำหน้าที่ ผสมผสาน Water & Oil Phase ให้เข้ากัน
       ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ สารลดแรงตึงผิว (Surfactant)

5.  สารเพิ่มความหนืด (Thickening Agents)  ได้แก่  Veegum, Carbopol

6.  สารกันเสีย (Preservative)          
     ⦁  ป้องกันการปนเปื้อน และถูกทำลายโดยเชื้อจุลินทรีย์
       ได้แก่  Methylparaben, Propylparaben

7.  สารต้านออกซิเดชัน (Anti-Oxidation Agent)  ได้แก่  
     Butylated Hydroxytoluene (BHT)

8.  สารแต่งสี (Colorant)  อาจเป็นสีที่ละลายน้ำ หรือสีที่ละลายน้ำมัน  เช่น สีลิปสติก

9.  สารแต่งกลิ่น  ได้แก่  น้ำหอม


ครีมแต่ละชนิด แตกต่างกันอย่างไร ?

Facial cream  ครีมสำหรับทาหน้า

  ครีมเช็ดทำความสะอาดหน้า ครีมทากลางคืน
ครีมชนิดนี้จะค่อนข้างเหนียวเหนอะหนะ และล้างน้ำออกยาก  เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ อิมัลชันชนิดน้ำในน้ำมัน
(W/O Emulsion)  โดยมีวัฏภาคภายในเป็นน้ำ และวัฏภาคภายนอกเป็นน้ำมัน จึงทำให้ล้างออกยากนั่นเอง

  ครีมและโลชั่นทาผิว ครีมทาหน้า ครีมกันแดด ครีมรองพื้น
ครีมชนิดนี้เป็น อิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ
(O/W Emulsion)  โดยมีวัฏภาคภายในเป็นน้ำมัน และวัฏภาคภายนอกเป็นน้ำ  จึงมีความเหนอะหนะน้อย ทาแล้วกระจายตัวดี ล้างน้ำออกง่าย  ทำให้ เป็นที่นิยมมากในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

  Cold cream  หรือ ครีมเย็น
เป็น อิมัลชันเชิงซ้อน
(Multiple emulsion) ชนิด O/W/O  นอกจากนี้ยังมีชนิด W/O/W ด้วย ซึ่งสามารถกลับกลายเป็นอิมัลชันชนิดธรรมดาได้ เช่น  W/O/W  ซึ่งมีน้ำเป็นวัฏภาคภายนอก และวัฏภาคภายในเป็นน้ำมัน  จะมีหยดเล็กๆของหยดน้ำซ้อนอยู่อีกที  เมื่อกลับเป็นอิมัลชันธรรมดาจะกลายเป็นชนิด O/W



Top 5 บทความที่มีคนเปิดดูมากที่สุด