เมื่อก่อนเคยคิดว่า... นํ้าหอมเป็นนํ้าที่เค้าเติมสารที่ทำให้มีกลิ่นหอมลงไป จึงทำให้มันหอม เชื่อว่าหลายๆคนชื่นชอบการใช้นํ้าหอมเพื่อระงับกลิ่นกาย หรืออาจจะช่วยเพิ่มความมั่นใจมากขึ้นเวลาที่อยู่ใกล้กับผู้คน เพราะใครๆต่างก็ชื่นชอบของหอมๆทั้งนั้น ในปัจจุบัน นํ้าหอมจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับใครหลายๆคนไปแล้ว เรียกว่าแทบจะขาดไม่ได้เลยก็ว่าได้
นํ้าหอม มีมากมายหลายกลิ่นหลายยี่ห้อด้วยกันนับไม่ถ้วน ซึ่งการที่มีกลิ่นหอมนั้นเกิดจาก นํ้าหอมทำมาจาก เอสเทอร์ (Ester) ซึ่งเอสเทอร์เป็นสารอินทรีย์ที่พบมากในธรรมชาติ ในพืช สัตว์ เช่น ดอกไม้ ผลไม้ นํ้ามันพืช สารที่ทำให้เกิดกลิ่นในแมงดานา เป็นต้น จึงทำให้ดอกไม้มีกลิ่นหอม หรือมีกลิ่นเฉพาะตัวแตกต่างกันไป นอกจากจะพบในธรรมชาติแล้ว เอสเทอร์ยังสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาระหว่าง กรดอินทรีย์ กับ แอลกอฮอล์ อีกด้วย ดังสมการข้างล่าง
H2SO4,
ความร้อน
RCOOH
+ R’OH
⇌ RCOOR’
+ H2O
กรดอินทรีย์ แอลกอฮอล์ เอสเทอร์ น้ำ
กรดอินทรีย์ แอลกอฮอล์ เอสเทอร์ น้ำ
ซึ่งปฏิกิริยาข้างต้น เป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ โดยปฏิกิริยาไปข้างหน้า เรียกว่า เอสเทอริฟิเคชัน (Esterification) และปฏิกิริยาย้อนกลับ เรียกว่า ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส (Hydrolysis)
เอสเทอร์ส่วนใหญ่เป็นของเหลวที่ ระเหยง่าย และมีกลิ่นหอม จึงนิยมใช้ทำนํ้าหอมนั่นเอง
กลิ่นของเอสเทอร์บางชนิด เช่น
Ethyl acetate กลิ่นดอกนมแมว
n-Butyl acetate กลิ่นกล้วยหอม
Methyl butyrate กลิ่นแอปเปิ้ล
n-Octyl acetate กลิ่นส้ม
Ethyl butyrate กลิ่นสับปะรด
Methyl salicylate กลิ่นนํ้ามันระกำ
ประโยชน์ของเอสเทอร์
- นิยมใช้ทำนํ้าหอม
- ใช้เป็นสารแต่งกลิ่นในอาหาร
- ใช้เป็นตัวทำละลาย เช่น ในอุตสาหกรรมทำแลกเกอร์ นํ้ามันขัดเงา
- ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยสังเคราะห์
เอสเทอร์บางชนิดผลิตขึ้นเพื่อ
- ใช้เป็นนํ้ายาล้างเล็บ (เอทิลแอซีเตต; Ethyl acetate)
- ใช้เป็นยาระงับปวด เช่น แอสไพริน (แอซีติล ซาลิซิลิกแอซิด; Acetyl salicylic acid)
- ใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่น นํ้ามันระกำ (เมทิลซาลิซิเลต;
Methyl salicylate)
เป็นต้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น