วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ปรากฏการณ์ทินดอลล์ (Tyndall effect) ในธรรมชาติ

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ลำแสงที่เห็นเมื่อแสงส่องผ่านเมฆ หรือหมอก (ซึ่งเป็นละอองน้ำกระจายอยู่ในอากาศ) เป็นปรากฏการณ์ทินดอลล์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เพราะเมฆ หมอก เป็น คอลลอยด์ ชนิดแอโรซอล (Aerosol)  ที่เกิดจากอนุภาคของแข็งหรือของเหลวกระจายอยู่ในตัวกลางที่เป็นก๊าซ หากเกิดขึ้นในตัวเมือง อาจจะเกิดจากควัน (เป็นคาร์บอน ซึ่งเป็นของแข็งกระจายอยู่ในอากาศ)



ปรากฏการณ์ทินดอลล์ (Tyndall effect)  คือ การให้ลำแสงที่สว่างผ่านคอลลอยด์ใดๆ แล้วเราสามารถมองเห็นลำแสงในคอลลอยด์ได้  ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ของผสมเป็นชนิดคอลลอยด์เท่านั้น

จอห์น ทินดอลล์ นักวิทยาศาสตร์ ชาวไอร์แลนด์ ทดลองเป็นคนแรกในปี ค..1869




เหตุที่เห็นลำแสงในคอลลอยด์ ?
เพราะอนุภาคที่กระจายอยู่ในคอลลอยด์มีขนาดโตพอที่จะทำให้แสงที่ตกกระทบเกิดการสะท้อนและกระจัดกระจายมาสู่สายตาเรา  ส่วนสารละลาย มีอนุภาคเล็กมากจนไม่สามารถทำให้เกิดการกระจายแสงได้ เราจึงมองไม่เห็นลำแสง


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Top 5 บทความที่มีคนเปิดดูมากที่สุด