วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ถ้าชั่งน้ำหนักของวัตถุ บนโลก กับ บนดวงจันทร์ จะเท่ากันมั้ย ?

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัตถุชิ้นเดียวกัน ถ้านำไปชั่งหาน้ำหนักโดยเปรียบเทียบกันระหว่าง บนโลกกับบนดวงจันทร์ หรือ บนโลกกับบนดาวเคราะห์อื่น หรือแม้แต่บนโลกเหมือนกันแต่อยู่คนละแห่งกัน เช่น ที่พื้นผิวโลก เทียบกับบนภูเขาสูง  น้ำหนักของวัตถุที่ได้ก็จะไม่เท่ากัน เพราะอะไร

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า มวล กับ น้ำหนัก ไม่เหมือนกัน  ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดมวลของวัตถุจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมวลก็คือเนื้อสารนั่นเอง แต่น้ำหนัก คือ แรงที่โลกกระทำกับวัตถุ หรือ แรงที่วัตถุนั้นถูกโลกดึงดูด  ซึ่งแรงและมวลมีความสัมพันธ์กันตาม กฎของนิวตัน (Newton’s Law)  โดยนิวตันได้ค้นพบกฎนี้จากการสังเกตเห็นลูกแอปเปิ้ลหล่นลงมาจากต้น ทำให้เขาเกิดความสงสัยว่า ทำไมวัตถุจึงตกลงสู่พื้นโลก ไม่ลอยขึ้นไปในอากาศ  และได้แสดงเป็นสมการไว้ดังนี้   
F  =  ma
โดย   F  =  แรง,  m  =  มวล  และ  a  =  ความเร่ง (acceleration)


จะเห็นได้ว่า ถ้าเราต้องการเร่งวัตถุหนึ่ง เราต้องใช้แรง  ทำนองเดียวกัน เมื่อวัตถุตกลงสู่พื้นดินเกิดความเร่งเนื่องจาก แรงโน้มถ่วง (gravitational force) ของโลก  วัตถุตั้งนิ่งอยู่บนพื้นจึงมีแรง (ซึ่งก็คือน้ำหนักนั่นเองเป็นผลคูณระหว่าง มวล (m) กับ ความเร็วเนื่องจากความโน้มถ่วงของโลก (g)  ดังสมการ   weight (w)  =  mg

ดังนั้น เมื่อแรงโน้มถ่วงของโลก กับของดวงจันทร์ ไม่เท่ากัน (ค่า g ต่างกัน) จึงทำให้น้ำหนักของวัตถุที่ได้แตกต่างกันนั่นเอง  และค่า g อาจมีค่าแปรผันไปบ้างเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุนั้นอยู่แห่งใดบนผิวโลก


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Top 5 บทความที่มีคนเปิดดูมากที่สุด