วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แมลงอยู่บนผิวนํ้าได้อย่างไร ?

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เราอาจจะเคยสังเกตเห็นว่า... แมลงบางชนิดที่อยู่ตามสระบัว หรือตามแหล่งนํ้าธรรมชาติ สามารถที่จะยืนอยู่บนผิวนํ้าได้โดยไม่จมลงไป ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?  เป็นเพราะแมลงมีนํ้าหนักตัวน้อยหรือเปล่า หรือเป็นเพราะอะไรกัน ?  วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยในเรื่องนี้กัน...

สาเหตุที่แมลงสามารถอยู่บนผิวนํ้าได้เป็นเพราะว่า นํ้ามีความตึงผิว  นั่นเอง  
แล้วความตึงผิวนี้คืออะไร ?  เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ความตึงผิว  เกิดจากการที่โมเลกุลของของเหลว (ซึ่งไม่ใช่มีเพียงแค่นํ้าอย่างเดียว) มีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน โดยโมเลกุลที่อยู่ตรงกลางได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลอื่นที่อยู่ล้อมรอบเท่ากันทุกทิศทาง ส่วนโมเลกุลที่ผิวหน้าจะได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านข้างและด้านล่างเท่านั้น โมเลกุลที่ผิวหน้าจึงถูกดึงเข้าภายในของเหลว ทำให้พื้นที่ผิวของของเหลวลดลงเหลือน้อยที่สุด  ซึ่งตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเช่นเดียวกันคือ หยดนํ้าที่เกาะบนพื้นผิวที่เรียบและสะอาด เช่น หยดนํ้าที่อยู่บนใบบอน, ใบบัว, นํ้าค้างตอนเช้าๆ, หยดนํ้าข้างแก้ว, บนกระจก เป็นต้น   จะมีลักษณะเป็น ทรงกลม  ซึ่งจะมีพื้นที่ผิวน้อยกว่านํ้าที่อยู่ในลักษณะแผ่ออก




"ค่าความตึงผิวจะสูง เมื่อของเหลว
มีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลสูง"

แล้วทำไมจึงต้องทำให้มีพื้นที่ผิวน้อย ?
ก็เพราะว่า โมเลกุลที่ผิวมีเสถียรภาพน้อยกว่าโมเลกุลที่อยู่ตรงกลาง  ดังนั้นการลดพื้นที่ผิวเท่ากับเป็นการลดจำนวนโมเลกุลที่ผิวหน้า จึงทำให้ของเหลวมีเสถียรภาพมากขึ้นนั่นเอง

คงจะหายสงสัยกันแล้วสินะ...
จึงไม่แปลกเลยที่ในสมัยก่อนเขาจะดื่มนํ้าที่อยู่บนใบบัว หรือใช้ใบบัวรองนํ้า เพราะนอกจากจะเก็บนํ้าไว้ได้แล้ว  อาจเป็นเพราะใบบัวนั้นสะอาด จึงทำให้นํ้ามีรูปร่างเป็นทรงกลมสวยงามน่าดื่มกิน


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Top 5 บทความที่มีคนเปิดดูมากที่สุด