วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แอลกอฮอล์น่ารู้

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554


นอกจากเอทานอลที่เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว รู้หรือไม่ว่า...ยังมีแอลกอฮอล์ชนิดอื่นอีกที่น่าสนใจไม่แพ้กัน นั่นก็คือ "แอลกอฮอล์เช็ดแผล (rubbing alcohol)" ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า "ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์" และ "เอทิลีนไกลคอล" ซึ่งใช้เป็น สารกันเยือกแข็งในหม้อนํ้ารถยนต์  ทั้งสองอย่างนี้เป็นแอลิแฟติกแอลกอฮอล์ หรือแอลกอฮอล์โซ่ตรงที่เราคุ้นเคยกัน

สาเหตุที่ทำให้เอทิลีนไกลคอลสามารถป้องกันการแข็งตัวของนํ้าได้เป็นเพราะว่า โมเลกุลของเอทิลีนไกลคอลมีหมู่ -OH (hydroxyl) 2 หมู่ และสามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนกับโมเลกุลของนํ้าได้ดีกว่าโมเลกุลที่มีหมู่ -OH เพียงหมู่เดียว


radiator (หม้อนํ้ารถยนต์)
                                                                  
แอลกอฮอล์ส่วนใหญ่ ติดไฟได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอลกอฮอล์ที่มีมวลโมเลกุลตํ่าๆ เช่น เมทานอล (Methanol; methyl alcohol), เอทานอล (Ethanol; ethyl alcohol), 2-Propanol (isopropyl alcohol), ฟีนอล (Phenol) และเอทิลีนไกลคอล (Ethylene glycol) เป็นต้น 

แอลกอฮอล์เป็นกรดที่อ่อนมาก และไม่ทำปฏิกิริยากับเบสแก่ เช่น NaOH แต่จะทำปฏิกิริยากับโลหะแอลคาไลน์ (หมู่ 1 เช่น Na) ได้แก๊สไฮโดรเจน  แต่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงน้อยกว่าปฏิกิริยาระหว่าง Na กับนํ้ามาก


นอกจากนี้ ยังมีแอลกอฮอล์อีกชนิดหนึ่งที่เราอาจจะไม่คุ้นเคยนั่นคือ เมทานอล (CH3OH) หรือที่เรียกกันว่า "แอลกอฮอล์ไม้ (wood alcohol)" เพราะครั้งหนึ่งแอลกอฮอล์ชนิดนี้เตรียมได้จากการนำไม้มากลั่นแห้ง  แต่ในปัจจุบัน ในโรงงานอุตสาหกรรมสามารถสังเคราะห์เมทานอลได้จากปฏิกิริยาระหว่าง คาร์บอนมอนอกไซด์ กับ ไฮโดรเจน ที่อุณหภูมิและความดันสูง

เมทานอลเป็นแอลกอฮอล์โซ่ตรงที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด และเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง หากดื่มเข้าไปเพียงเล็กน้อยไม่กี่มิลลิลิตรก็จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน และทำให้ตาบอดได้

เอทานอลที่มีเมทานอล หรือสารพิษอื่นๆปน เรียกว่า "ดีเนเจอร์แอลกอฮอล์ (denatured alcohol)" เช่น เอทานอลที่ใช้กันในอุตสาหกรรมมักจะมีเมทานอลปนอยู่เล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้นำไปดื่มนั่นเอง


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Top 5 บทความที่มีคนเปิดดูมากที่สุด